กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)
กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)
กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy) คือ นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย โรคในระบบทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ในจุดที่การส่องกล้องทั่วไปเข้าไม่ถึง สามารถให้้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์หรือกล้องสำรวจทางเดินอาหารมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยาเม็ดชนิดแคปซูล ทำให้สามารถกลืนได้สะดวกและปลอดภัย กระบวนการตรวจเริ่มจากให้คนไข้กลืน กล้องแคปซูล พร้อมกับน้ำ กล้องจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก จนสิ้นสุดที่ลำไส้ใหญ่
จากนั้นกล้องแคปซูลนี้จะออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายผู้ถูกตรวจโดยภาพภายในทางเดินอาหารจะถูกบันทึกไว้ที่เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่อจากภายนอก ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมง โดยสามารถบันทึกภาพได้ 2 ภาพต่อวินาที และเก็บภาพได้ถึง 50,000 ภาพ
"แคปซูลจิ๋ว...วิวัฒนาการใหม่ของการวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร"
การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลเป็นนวัตกรรมล่าสุด ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหาร ด้วยการกลืนแคปซูลติดกล้องบันทึกภาพขนาดจิ๋ว เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็กในจุดที่การส่องกล้อง โดยทั่วไปเข้าไม่ถึงได้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติ เช่น มีอาการปวดท้องอยู่บ่อยๆ หรือปวดแบบบิดๆ ตรวจหาสาเหตุของโรคเท่าไหร่ก็ตรวจไม่พบเสียทีว่ามีความผิดปกติที่ใด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุดยากต่อการตรวจหาโรค
แคปซูล หรือ แคปซูลเอ็นโดสโคป
แคปซูล หรือ "แคปซูลเอ็นโดสโคป" เป็นวัสดุขนาดเล็กและเบา ซึ่งมีลักษณะปลายมนโค้งเป็นพลาสติกใส มีเลนส์ และตัวให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ พร้อมด้วยตัวบันทึกภาพ โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลพร้อมน้ำ ได้อย่างสบาย ไม่ต้องเคี้ยว หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารโดยเริ่มจากปากไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum)ลำไส้เล็กตอนปลาย (IIeum) ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ (IIeo –cecal Valve) กระพุ้งแรกของลำไส้ใหญ่ (Cecum) และลำไส้ใหญ่ (Colon) ซึ่งจะบันทึกภาพระบบภายในและส่งสัญญาณต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ใน เครื่องบันทึกภาพ ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างสะดวกแม่นยำ โดยในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงระหว่างกลืนแคปซูลลงไปในท้องนั้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือทำงานได้ตามปกติ และไม่มีความเจ็บปวด ก่อนที่แคปซูลจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Rapid Workstation) เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป
กล้องแคปซูล มีหลักการทำงานยังไง?
เห็นเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างนี้ บอกเลยว่าหลักการทำงานไม่ยุ่งยากอะไรเลย การตรวจด้วยกล้องแคปซูลจะประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 ส่วนคือ
(1) กล้องแคปซูล ขนาดประมาณ 11 x 24 มิลลิเมตร ที่สามารถถ่ายภาพภายในทางเดินอาหารได้ 2 ภาพต่อวินาที
(2) ตัวรับสัญญาณภาพ ที่มีลักษณะคล้ายเข็มขัดคาดไว้กับเอวผู้ป่วย ซึ่งจะรับสัญญาณภาพที่ส่งมาจากกล้องแคปซูลที่อยู่ภายในทางเดินอาหาร
เมื่อผู้ป่วยกลืนกล้องแคปซูลเข้าไป พร้อมคาดเข็มขัดรับสัญญาณภาพ กล้องแคปซูลจะเคลื่อนไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารเหมือนอาหารที่เรากินโดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งสัญญาณไปยังตัวรับสัญญาณภาพที่คาดอยู่ที่เอว โดยปกติแบตเตอรี่ของกล้องแคปซูลสามารถใช้งานได้นานประมาณ 8 ชั่วโมง จึงสามารถถ่ายภาพส่งให้ตัวรับสัญญาณภาพได้มากถึง 50,000 ภาพ ซึ่งข้อมูลภาพที่ได้จะเป็นภาพต่อเนื่องภายในระบบทางเดินอาหาร ทำให้แพทย์สามารถใช้วิเคราะห์หาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในลำไส้เล็กได้
สัญญาณที่ควรพบแพทย์
คนที่ปัญหาดังต่อไปนี้ เชื่อว่าคงจะเป็นกังวลว่าตนเองเป็นโรคอะไร ร้ายแรงหรือเปล่า? ควรรีบมาปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
- มีภาวะซีดหรือโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่ไม่พบตำแหน่งเลือดออก
- ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุสงสัยว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้เล็ก
- ภาวะที่สงสัยว่าจะมีเลือดออกในลำไส้เล็ก
- โลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กที่ไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องเสียเรื้อรัง
- สงสัยภาวะที่มีติ่งเนื้อในลำไส้เล็ก
- ลำไส้อักเสบเรื้อรังบางชนิด
ขั้นตอนการตรวจ
ผู้เข้ารับการตรวจจะกลืนแคปซูลขนาด 24 x 11 มิลลิเมตร ที่มีกล้องขนาดจิ๋วติดอยู่พร้อมน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยว
จากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งเป็นสัญญาณวิทยุมายังชุดรับสัญญาณที่ติดอยู่บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้กล้องแคปซูลจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 ชั่วโมง หลังการกลืนแคปซูลประมาณ 2 ชั่วโมง
ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานของเหลว หรือขนมขบเคี้ยวได้บ้าง
ระหว่างการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
- ก่อนการตรวจด้วยกล้องแคปซูล ผู้เข้ารับการตรวจต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ การแพ้ยา และโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ให้แพทย์ทราบ รวมถึงหากเคยผ่าตัด เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดหน้าท้อง เคยมีการอักเสบของลำไส้ ใส่ pacemaker
- ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำและอาหารก่อนกลืนแคปซูล 12 ชั่วโมง
- ผู้เข้ารับการตรวจต้องรับประทานยาระบายก่อนการตรวจเพื่อเตรียมลำไส้ให้ว่าง
ข้อดีของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
- ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องบอกซ้ำหรือเจ็บตัวจากการตรวจด้วยวิธีแบบเดิมๆ เช่น การกลืนแป้งเอกซเรย์
- กล้องแคปซูลสามารถหารอยโรคภายในลำไส้เล็ก ในช่วงที่มีความยาวมาก และในจุดที่ลึกมากได้
- ไม่ต้องใช้ยาสลบ
- สามารถเห็นภาพสีสามมิติของลำไส้เล็กได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
- แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้
ข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
ภาวะลำไส้อุดตันจากการตีบแคบของลำไส้ ซึ่งเกิดได้จากการอักเสบของลำไส้ เคยผ่าตัดช่องท้องหรือก้อนเนื้องอก ซึ่งจะทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และ/หรืออาเจียนขณะกลืนแคปซูล หากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งแพทย์ทันที
หลังเสร็จสิ้นการตรวจ
ท่านสามารถดำเนินกิจวัตรและออกกำลังกาย รับประทานอาหาร รับประทานยาได้ตามปกติหลังเสร็จสิ้นการตรวจ
อ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โทร.1719 ตลอด 24 ชั่วโมงหรือส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่ info@phukethospital.com
http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Information/Capsule-Endoscopy.php
Merkur 25c Safety Razor - Merkur Review - deccasino
ตอบลบThe Merkur 25c is the 제왕카지노 best safety razor you'll find on a Merkur. The Merkur 25c is the safety razor in the Merkur Classic. 메리트 카지노 It is the standard 샌즈카지노 model of the