วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย

รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย วิ่งฉิวโดยไม่ง้อน้ำมัน (เดลินิวส์)


ขณะที่ทุกๆ ประเทศ ทั่วโลกกำลังคิดค้นพลังงานทดแทนอย่างขะมักเขม้น ด้านประเทศไทยของเราก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต่างระดมความคิดในการหาทางออกเพื่ออนาคต . . .

         และแล้วความพยายามก็เป็นผล เมื่อคนไทยสามารถ ผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ เป็นหัวหน้าทีมโครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์พลังงานไฮโดร เจนที่แยกจากน้ำ และทีมวิจัยอีก 14 ชีวิต ภายใต้ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

         อวดสายตาผู้คนไปเมื่อวันก่อนที่ทำเนียบ ก่อนการประชุม ครม. โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจ และทดลองขับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงคันแรก ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยขนาด 4 ที่นั่ง ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย

         เส้นทางของรถยนต์คันนี้มีความเป็นมาอย่างไร หัวหน้าทีมวิจัยวัย 75 ปี แต่ยังมีไฟอยู่ เล่าให้ฟังว่า ใช้เวลาในการคิดค้นกว่า 7 ปี ตั้งแต่สมัยที่น้ำมันเริ่มมีราคาสูงขึ้น จากการศึกษาเทคโนโลยีของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ อย่างประเทศแคนาดา มีการทดลองในรูปแบบต่างๆ และสะสมความรู้เอาไว้ รวมทั้ง มีทีมงานที่ทุ่มเทตั้งใจทำงานกันทุกคน จนมาเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังหลังจากที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสนใจและให้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 14 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา 


 หัวใจในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฮโดรเจนอยู่ที่ เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นเยื่อบางๆ ใสๆ เหมือนแผ่นกันแสงคล้ายฟิล์มในรถยนต์ เรียกว่า MEA ที่ย่อมาจาก Membrane Electrode Assembly เรียกเป็นภาษาไทยว่า เยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอน โดยทั้ง 2 ด้านของ MEA จะประกอบด้วยแผ่นไบโพลา (Bipola Plate) ที่ทำจากแกร์ไฟต์ ประกอบเรียงกันเป็นเซลล์เชื้อเพลิง 1 สแตค (Stack) โดยแผ่นไบโพลา จะทำหน้าที่ส่งไฮโดรเจนเพื่อเข้า ไปแยกที่ MEA ให้เป็นไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ และทำหน้าที่รวมกับออกซิเจนทำให้เกิดเป็นน้ำออกมา

         "เมื่อไฮโดรเจนผ่านเข้ามาจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยอาศัยแผ่นไบโพลาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดอิเล็ก ตรอนอิสระที่เป็นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนผ่านตัวนำไฟฟ้าส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ และเมื่ออิเล็กตรอนไหลวน ครบวงจรจะกลับมารวมกับไฮโดรเจนประจุบวกและออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดเป็นน้ำออกมา ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่เกิดมลพิษและก่อให้เกิดเสียงดังของเครื่องยนต์แต่อย่างใด"

         พล.อ.ท.มรกต กล่าวถึงประสิทธิภาพของรถให้ฟังว่า มีการติดตั้งมอเตอร์ให้ขับเคลื่อนเพลาล้อแทนเครื่องยนต์ โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 8 กิโลวัตต์ ที่ติดตั้งอยู่ ส่วนหน้ารถ ลักษณะตัวรถขึ้นรูปจากโครงเหล็ก และตัวถังหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาส มีที่นั่งเป็นเบาะหนัง 

         "โดยรถจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 4 กิโลวัตต์ จึงมีกระแสไฟฟ้าเหลือพอที่จะนำไปใช้กับระบบทำความเย็น และเครื่องเสียงภายในรถอีกด้วย และบรรจุไฮโดรเจน 900 ลิตร น้ำหนัก 70 กรัม ใส่ถังไว้ด้านหลังของตัวรถ สามารถวิ่งได้ระยะทาง 40 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 20-30 นาที จะต้องมีการเติมไฮโดรเจนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการขับเคลื่อนของรถไฮโดรเจนจะวิ่งเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับพลังงานของมอเตอร์ที่ใส่เข้าไป สำหรับรถไฮโดรเจนคันนี้จะมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 4 ปี เพราะเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอนจะเสื่อมต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ แต่แผ่นไบโพลายังใช้ได้อยู่"

         ด้านแหล่งที่มาของไฮโดรเจนนั้น เฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งมีโรงงานทำแก้ว โรงงานเม็ดพลาสติก โรงงานแยกแก๊ส มีการปล่อยไฮโดรเจนรวมกันแล้วชั่วโมงละประมาณ 20 ตัน ทิ้งไปในอากาศ ไม่มีการนำมาใช้หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมากักเก็บไว้ใช้กับรถไฮโดรเจนได้อย่างน้อยกว่าแสนคัน

         รถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้ ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 6 ของโลก ที่สามารถผลิตออกมาใช้งานได้จริงบนท้องถนน หลังจากที่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ผลิตสำเร็จมาแล้ว


"หากมีการนำมาใช้ในรถยนต์ทั่วไปเพื่อขับเคลื่อนบนท้องถนน จำเป็นต้องมีการติดตั้งตัวถังไฮโดรเจนให้บรรจุก๊าซไฮโดรเจนได้มากขึ้น สำหรับป้อนเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเป็นพลังงานไฟฟ้าในระยะทางที่ไกลขึ้น ยอมรับว่ารถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้มีต้นทุนการผลิตรวมแล้วประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากในอนาคตภาครัฐมีการสนับสนุนให้เป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องศึกษาพัฒนาต่อไป เชื่อว่าต้นทุนการผลิตจะลดลงได้"

         หลังจากที่ผลิตรถยนต์ไฮโดรเจน ขนาด 4 ที่นั่ง ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว มีการต่อยอดเพิ่มขึ้น โดย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา มีข้อสรุปว่า รถยนต์ไฮโดรเจนยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ และต้นทุนยังแพงอยู่ จึงมีแนวคิดในการสร้างเป็นรถประจำทางหรือรถเมล์สาธารณะ ขนาด 20 ที่นั่ง ขึ้นไป เพื่อให้บริการประชาชนน่าจะดีกว่า จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมขึ้น โดยมี ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน เป็นประธาน และได้งบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 20 ล้านบาท

         "ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 11 กิโลวัตต์ เพื่อนำมาใช้กับรถประจำทาง ขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน โดยใช้คันละ 3 สแตค มีต้นทุนสแตคละประมาณ 3 ล้านบาท ฉะนั้นต้นทุนของรถอยู่ที่เกือบ 10 ล้านบาท ราคานี้เป็นของเทคโนโลยีใหม่ที่ต้นทุนยังสูงอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่มีเทคโนโลยีมารองรับมากกว่านี้ราคาแผงเซลล์เชื้อเพลิงอาจลดลงอยู่ที่ราคาประมาณล้านกว่าบาทต่อคัน ด้านตัวรถต้นทุนอยู่ที่ 1 ล้านบาท จึงถือว่ารถเมล์ 1 คัน ตกอยู่ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อติดตั้งไฮโดรเจนด้านบนของตัวรถจะอยู่ที่ราคา 5 ล้านบาท ซึ่งราคารถเมล์ที่ใช้กันอยู่นี้ก็ อยู่ที่ราคาประมาณนี้ แต่ก่อมลพิษและเสียงดัง ถ้าน้ำมันขึ้นก็เก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก แต่รถเมล์ไฮโดรเจนไม่ส่งผลกระทบ ดังกล่าว"

         รถเมล์ไฮโดรเจนจะแตกต่างจากรถเมล์ทั่วไปคือ มี 6 ล้อ ด้านละ 3 ล้อ มี 2 เพลา เพลาละ 8 กิโลวัตต์ รวมเป็น 16 กิโลวัตต์ เพื่อให้ขับได้แรงขึ้น เร็วขึ้น และมีสมรรถนะสูงขึ้น วิ่งด้วยความเร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมง ที่เลือกรถขนาด 20 ที่นั่ง เพราะต้องการให้เกิดการคล่องตัวในการใช้งาน หากโครงการผ่านการพิจารณางบประมาณ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ในการปรับปรุงให้สมบูรณ์ ออกใช้งานได้จริง เพราะตัวรถเมล์ไม่ได้มีส่วนประกอบที่ซับซ้อนแต่อย่างใด

 ส่วนด้านสถานีเติมไฮโดรเจน และเรื่องกฎหมายรองรับการผลิต รวมทั้งการนำมาใช้งานจริงบนท้องถนน คงเป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลต้องพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป

         พล.อ.ท.มรกต ฝากความหวังไว้ว่า "เมื่อทำเป็นรถเมล์ไฮโดรเจนออกมาได้แล้ว ใช้งานได้จริง อยากให้รถต้นแบบทุกคัน ถูกเผยแพร่วิทยาการในส่วนนี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความสนใจ เพื่อจะได้ต่อยอดในส่วนต่างๆ ต่อไป เพื่อให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ดีขึ้น ราคาต้นทุนจะได้ถูกลง โดยอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนจะได้เป็นความรู้ที่มีการต่อยอดกันต่อไปในเชิงพาณิชย์ และที่สำคัญเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย"

         ผลงานชิ้นโบแดงนี้ ช่วยสร้างศักยภาพให้กับประเทศ และคนไทยไปแล้วในสายตาของชาวโลก คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากขาดการสนับสนุนในเชิงสร้างสรรค์ และจริงใจ!

อ้างอิง
http://nakorntumtong.blogspot.com/

เครื่องบินรบในอนาคต (Future Fighters)

เครื่องบินรบในอนาคต (Future Fighters)
     เครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุด คงไม่พ้น เครื่องบิน F-22 และเครื่องบิน F-35 ที่กำลังผลิตของทางสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบิน F-35 เป็นเครื่องบินรบเอนกประสงค์ที่พัฒนามาเพื่อทดแทนเครื่องบินหลายประเภท (F-16, A-10, F/A-18, AV-8B) ในกองทัพบก, เรือ, อากาศ และนาวิกโยธิน ของเหล่าทัพสหรัฐ ฯ รวมทั้งสำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร ฯ
F-35 Lighting II
    ขีดความสามารถหลัก คือ บินล่องหน หลบเรดาห์ได้ มีอาวุธ อากาศสู่อากาศ อากาศสู่ภาคพื้น อากาศสู่เรือ ปีนกล และระบบหลายชนิดโยธิน ของเหล่าทัพสหรัฐ ฯ รวมทั้งสำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร ฯ โดยเป็นการลงทุนร่วมระหว่างประเทศสหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร อิตาลี ฮอล์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมารก์ อิสราเอล และสิงคโปร์
อย่างไรก็ดีทางรัสเซีย ก็ได้ทำความร่วมมือกับอินเดียเพื่อผลิตเครื่องบินรบแห่งอนาคต รหัส PAK-FA ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบิน Mig-29 แต่ไม่ใหญ่เท่า Su-27 โดยใช้เทคโนโลยีจากเครื่องบิน Su-47 และ Mig 1.44 โดยเครื่องบินชนิดนี้จะทำการแทนที่ Su-27 และ Mig-29 โดยเครื่องบินลำใหม่นิ้จะมีขีดความสามารถ อากาศสู่อากาศ อากาศสู่ภาคพื้น อากาศสู่เรือ รวมทั้งความสามารถ AESA Radar โดยใข้เครื่องยนต์ AL-41F หรือดัดแปลงจากเครื่องนี้ โดยทางด้านสหรัฐ อเมริกายังไม่ได้มีโครงการสร้างเครื่องบินมาเป็นคู่แข่ง PAK-FA ณ เวลานี้ เครื่องบิน PAK-FA น่าจะพร้อมบินในปี 2012-2015
PAK-FA

ทางด้านฝรั่งเศสก็ได้พัฒนาเครื่องบินไร้คนขับแบบล่องหนออกมาในรหัสเครื่อง Dassault AVE-C Moyen Duc โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อ2004 สำหรับการใช้งานของกองทัพบกฝรั่งเศส ภารกิจหลักคือการสอดแนมและเก็บข้อมูล

Dassault AVE-C Moyen Duc
กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้ทำการทดสอบเครื่องบิน X-29 เป็นเวลากว่าสองทศวรรษ โดยที่เครื่องบินลำนี้มีปีกที่พับไปด้านหน้าได้ โดยมีการดัดแปลงปีกใหม่ใหทำการเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยปีกนี้จะทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นและ X-29  เป็นเครื่องบินที่มีวงเลี้ยวแคบที่สุดในโลก โดย NASA ได้ทำการพัฒนาและวิจัยเครื่องลำดังกล่าว โดยเครื่องบินนี้ได้ทำการบินทั้งหมดกว่า 374 เที่ยวบิน ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเครื่องบินดังกล่าวมาใช้งาน

X-29: The Switchblade

โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ ฯ และหน่วยงานวิจัยกระทรวงกลาโหมเยอรมัน กับบริษัท EADS ได้พัฒนาเครื่องบิน X-31 experimental aircraft ที่สามารถลงจอดในมุม 24° และความเร็วต่ำที่ 121 knots และสามารถลงจอดได้โดยอัตโนมัติ

X-31 Vector
โครงการทดลอง X-36 เครื่องบินไม่มีหาง เป็นอีกโครงการหนึ่งที่กองทัพสหรัฐ ฯ ได้ทำร่วมกับ NASA และ Boeing โดยเป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินรบในอนาคตที่ทำมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นการทดสอบเครื่องบินความเร็วสูงควบคู่กับเสถียรภาพทำให้น่าจะเหมาะสมเป็นเครื่องบินรบในอนาคตอย่างแท้จริง ปัจจุบันยังไม่มีความก้าวหน้าจากทั้งสองฝ่ายว่าจะพัฒนาเครื่องบินลำนี้ต่อไปเป็นเครื่องบินรบหรือไม่
X-36 Tailless Fighter Agility Research Aircraft
ภาพข้างล่างนี้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงสูง ที่ไม่มีคนขับ และสามารถไปถึงทุกที่ในโลกภายในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง โดยยังเป็นความลับสุดยอดที่ยังไม่มีประเทศใดเปิดเผย แต่คาดว่ามีหลายประเทศกำลังศึกษาอยู่


เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงสูง-ขั้นความลับ -ลับที่สุด
      ทางด้านสหราชอาณาจักร ก็มีโครงการ Future Offensive Aircraft (FOA) โครงการที่รัฐบาลตั้งงบวิจัยเพื่อแทนที่เครื่องบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหราชอาณาจักร โดยเครื่องบินข้างล่างอาจมาแทนที่เครื่องบิน Tornado GR.4 interdictor strike aircraft และที่เหลือเป็นภาพทางศิลป์สำหรับแนวทางเครื่องบินโจมตีในอนาคตของกองทัพสหราชอาณาจักร

The Future Offensive Aircraft (FOA)


Artist's impression of a FOAS manned aircraft launching Conventional Air-Launched Cruise Missiles (CALCM)

FOAS is a comprehensive strike system which includes a Conventional Air Launched Cruise Missile, launched from a large non-penetrating aircraft, together with Manned Aircraft and Uninhabited Vehicles.

Weapons system characteristics include hard-target kill capability, modular payload options and co-ordinated attack capability.

Artist's impression of a FOAS military transporter launching Conventional Air-Launched Cruise Missiles (CALCM)

Artist's impression of a FOAS unmanned aerial vehicle after deployment from a conventional aircraft.

The Future Offensive Air System Schematic

Options being evaluated for the FOAS Manned Aircraft include THE Lockheed Martin F-35 Joint Strike Fighter or derivatives of the Eurofighter.

เชิญชมคลิปตัวอย่างเครื่องบินเหล่านี้ได้เลยครับ
X-43

X-36




[เรียบเรียงโดย : .อ.วรชาติ สัตยเลขา]
http://nakorntumtong.blogspot.com/

กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)

กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)



กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)

     กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy) คือ นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย โรคในระบบทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ในจุดที่การส่องกล้องทั่วไปเข้าไม่ถึง สามารถให้้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์หรือกล้องสำรวจทางเดินอาหารมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยาเม็ดชนิดแคปซูล ทำให้สามารถกลืนได้สะดวกและปลอดภัย กระบวนการตรวจเริ่มจากให้คนไข้กลืน กล้องแคปซูล พร้อมกับน้ำ กล้องจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก จนสิ้นสุดที่ลำไส้ใหญ่
จากนั้นกล้องแคปซูลนี้จะออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายผู้ถูกตรวจโดยภาพภายในทางเดินอาหารจะถูกบันทึกไว้ที่เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่อจากภายนอก ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมง โดยสามารถบันทึกภาพได้ 2 ภาพต่อวินาที และเก็บภาพได้ถึง 50,000 ภาพ

"แคปซูลจิ๋ว...วิวัฒนาการใหม่ของการวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร"

การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy)

     การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลเป็นนวัตกรรมล่าสุด ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหาร ด้วยการกลืนแคปซูลติดกล้องบันทึกภาพขนาดจิ๋ว เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็กในจุดที่การส่องกล้อง โดยทั่วไปเข้าไม่ถึงได้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติ เช่น มีอาการปวดท้องอยู่บ่อยๆ หรือปวดแบบบิดๆ ตรวจหาสาเหตุของโรคเท่าไหร่ก็ตรวจไม่พบเสียทีว่ามีความผิดปกติที่ใด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุดยากต่อการตรวจหาโรค

แคปซูล หรือ แคปซูลเอ็นโดสโคป

     แคปซูล หรือ "แคปซูลเอ็นโดสโคป" เป็นวัสดุขนาดเล็กและเบา ซึ่งมีลักษณะปลายมนโค้งเป็นพลาสติกใส มีเลนส์ และตัวให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ พร้อมด้วยตัวบันทึกภาพ โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลพร้อมน้ำ ได้อย่างสบาย ไม่ต้องเคี้ยว หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารโดยเริ่มจากปากไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum)ลำไส้เล็กตอนปลาย (IIeum) ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ (IIeo –cecal Valve) กระพุ้งแรกของลำไส้ใหญ่ (Cecum) และลำไส้ใหญ่ (Colon) ซึ่งจะบันทึกภาพระบบภายในและส่งสัญญาณต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ใน เครื่องบันทึกภาพ ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างสะดวกแม่นยำ โดยในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงระหว่างกลืนแคปซูลลงไปในท้องนั้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือทำงานได้ตามปกติ และไม่มีความเจ็บปวด ก่อนที่แคปซูลจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Rapid Workstation) เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป

   กล้องแคปซูล มีหลักการทำงานยังไง?

     เห็นเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างนี้ บอกเลยว่าหลักการทำงานไม่ยุ่งยากอะไรเลย การตรวจด้วยกล้องแคปซูลจะประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 ส่วนคือ

               (1) กล้องแคปซูล ขนาดประมาณ 11 x 24 มิลลิเมตร ที่สามารถถ่ายภาพภายในทางเดินอาหารได้ 2 ภาพต่อวินาที

               (2) ตัวรับสัญญาณภาพ ที่มีลักษณะคล้ายเข็มขัดคาดไว้กับเอวผู้ป่วย ซึ่งจะรับสัญญาณภาพที่ส่งมาจากกล้องแคปซูลที่อยู่ภายในทางเดินอาหาร

      เมื่อผู้ป่วยกลืนกล้องแคปซูลเข้าไป พร้อมคาดเข็มขัดรับสัญญาณภาพ กล้องแคปซูลจะเคลื่อนไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารเหมือนอาหารที่เรากินโดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งสัญญาณไปยังตัวรับสัญญาณภาพที่คาดอยู่ที่เอว โดยปกติแบตเตอรี่ของกล้องแคปซูลสามารถใช้งานได้นานประมาณ 8 ชั่วโมง จึงสามารถถ่ายภาพส่งให้ตัวรับสัญญาณภาพได้มากถึง 50,000 ภาพ ซึ่งข้อมูลภาพที่ได้จะเป็นภาพต่อเนื่องภายในระบบทางเดินอาหาร ทำให้แพทย์สามารถใช้วิเคราะห์หาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในลำไส้เล็กได้

   สัญญาณที่ควรพบแพทย์

     คนที่ปัญหาดังต่อไปนี้ เชื่อว่าคงจะเป็นกังวลว่าตนเองเป็นโรคอะไร ร้ายแรงหรือเปล่า? ควรรีบมาปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
  • มีภาวะซีดหรือโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่
    ไม่พบตำแหน่งเลือดออก
  • ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุสงสัยว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้เล็ก
  • ภาวะที่สงสัยว่าจะมีเลือดออกในลำไส้เล็ก
  • โลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • สงสัยภาวะที่มีติ่งเนื้อในลำไส้เล็ก
  • ลำไส้อักเสบเรื้อรังบางชนิด
   ขั้นตอนการตรวจ

     ผู้เข้ารับการตรวจจะกลืนแคปซูลขนาด 24 x 11 มิลลิเมตร ที่มีกล้องขนาดจิ๋วติดอยู่พร้อมน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยว
จากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งเป็นสัญญาณวิทยุมายังชุดรับสัญญาณที่ติดอยู่บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้กล้องแคปซูลจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 ชั่วโมง หลังการกลืนแคปซูลประมาณ 2 ชั่วโมง
ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานของเหลว หรือขนมขบเคี้ยวได้บ้าง
ระหว่างการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

  

 การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ  
  • ก่อนการตรวจด้วยกล้องแคปซูล ผู้เข้ารับการตรวจต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ การแพ้ยา และโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ให้แพทย์ทราบ รวมถึงหากเคยผ่าตัด เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดหน้าท้อง เคยมีการอักเสบของลำไส้ ใส่ pacemaker
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำและอาหารก่อนกลืนแคปซูล 12 ชั่วโมง
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องรับประทานยาระบายก่อนการตรวจเพื่อเตรียมลำไส้ให้ว่าง
   ข้อดีของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
  • ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องบอกซ้ำหรือเจ็บตัวจากการตรวจด้วยวิธีแบบเดิมๆ เช่น การกลืนแป้งเอกซเรย์
  • กล้องแคปซูลสามารถหารอยโรคภายในลำไส้เล็ก ในช่วงที่มีความยาวมาก และในจุดที่ลึกมากได้
  • ไม่ต้องใช้ยาสลบ
  • สามารถเห็นภาพสีสามมิติของลำไส้เล็กได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้
   



   ข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
     
     ภาวะลำไส้อุดตันจากการตีบแคบของลำไส้ ซึ่งเกิดได้จากการอักเสบของลำไส้ เคยผ่าตัดช่องท้องหรือก้อนเนื้องอก ซึ่งจะทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และ/หรืออาเจียนขณะกลืนแคปซูล หากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งแพทย์ทันที

   หลังเสร็จสิ้นการตรวจ 

    ท่านสามารถดำเนินกิจวัตรและออกกำลังกาย รับประทานอาหาร รับประทานยาได้ตามปกติหลังเสร็จสิ้นการตรวจ


อ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โทร.1719 ตลอด 24 ชั่วโมงหรือส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่ info@phukethospital.com 

http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Information/Capsule-Endoscopy.php